องค์ความรู้การผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับข้าว เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน มีเกณฑ์ที่กาหนดและวิธีตรวจประเมินของเจ้าหน้ำที่ มี 7 ข้อ ดังนี้

แหล่งน้ำ

เกณฑ์ที่กาหนด

น้ำที่ใช้ปลูกต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย

วิธีตรวจประเมิน

  1. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ควรเป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำที่ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน และมีคุณภาพ เหมาะสมสาหรับใช้ในการเกษตร ต้องไม่ใช้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตราย กรณีจาเป็นต้องใช้ ต้องมีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าน้ำนั้นได้ผ่านการบาบัดน้ำเสียมาแล้ว และสามารถนามาใช้ในกระบวนการผลิตได้
  2. หากอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย ให้เก็บตัวอย่างน้ำ อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเริ่มจัดระบบการผลิต ส่งห้องปฏิบัติการของทางราชการ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนตามสภาพความเสี่ยงของแหล่งน้ำ โดยบันทึกรายละเอียดการเก็บตัวอย่างน้ำ และเก็บใบแจ้งผลการวิเคราะห์ น้ำไว้เป็นหลักฐาน
  3. ควรมีการอนุรักษ์แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อมสาหรับการทานาข้าว

พื้นที่ปลูก

เกณฑ์ที่กาหนด

ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายที่จะทาให้เกิดการตกค้าง หรือปนเปื้อนในข้าว

วิธีตรวจประเมิน

  1. มีการจัดทาข้อมูลประจาแปลงนา โดยรวมชื่อเจ้าของแปลงนา สถานที่ติดต่อ ชื่อผู้ดูแลแปลงนา (ถ้ามี) ที่ตั้งแปลงนา แผนที่ภายในแปลงนา ชนิดพืชและพันธุ์ที่ปลูก ประวัติการใช้ที่ดินย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี และรายละเอียดอื่นๆ ตามแบบบันทึกข้อมูลประจาแปลงนา
  2. หากอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย ให้มีการวิเคราะห์ดิน อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเริ่มจัดระบบการผลิต ส่งห้องปฏิบัติการของทางราชการ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนตามสภาพความเสี่ยงของพื้นที่ปลูก โดยบันทึกวิธีการเก็บตัวอย่างดิน และเก็บใบแจ้งผลการวิเคราะห์ดินไว้เป็นหลักฐาน

การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

เกณฑ์ที่กาหนด

ให้ใช้ตามคาแนะนาของกรมการข้าว หรือกรมวิชาการเกษตร และคาแนะนาในฉลาก ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง กับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และห้ามใช้วัตถุอันตราย ที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามใช้

วิธีตรวจประเมิน

  1. ตรวจบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ตามตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูล ในภาคผนวก ก ข้อ 9.2
  2. ตรวจสอบสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายทางการเกษตร ดังนี้
    1. ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการการผลิต ให้จัดเก็บในสถานที่เก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่มิดชิด ปลอดภัย ป้องกันแดดและฝนได้ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุอันตรายทางการเกษตรสู่อาหารและสิ่งแวดล้อม และควรมีเครื่องมือและวัสดุป้องกันอุบัติเหตุ เช่น น้ำยาล้างตา น้ำสะอาด ทราย และอุปกรณ์ดับเพลิง
    2. วัตถุอันตรายทางการเกษตรแต่ละชนิดต้องจัดเก็บในภาชนะปิดมิดชิด แสดงป้าย ให้ชัดเจน และแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกับปุ๋ย สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช และอาหารเสริมต่าง ๆ สาหรับพืช วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่เปิดใช้แล้วห้ามถ่ายออกจากภาชนะบรรจุเดิม
    3. ต้องไม่มีวัตถุอันตรายที่ห้ามผลิต นาเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เก็บรักษาอยู่ในสถานที่เก็บสารเคมี หรือภายในแปลงนา
  3. กรณีที่มีข้อมูลหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรไม่ตรงตามคาแนะนา ให้สุ่มข้าวเปลือกไปวิเคราะห์สารพิษตกค้าง

การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว

4.1 การผลิตเพื่อให้ได้ข้าวเปลือกตรงตามพันธุ์

เกณฑ์ที่กาหนด

ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวและนวดแล้ว ยอมให้มีข้าวพันธุ์อื่นปนได้ ไม่เกิน 5% ในจานวนนี้มีข้าวเมล็ดแดงปนได้ไม่เกิน 2% โดยพิจารณาจาก

  1. การเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตรงตามพันธุ์ และมาจากแหล่ง ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ วิธีตรวจประเมินตรวจสอบเอกสารรับรองเมล็ดพันธุ์ หรือตรวจบันทึกข้อมูลแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ ตามตัวอย่างแบบบันทึกในภาคผนวก ก ข้อ 4
  2. การจัดการการปลูกและการดูแล เพื่อลดปริมาณข้าวเรื้อ และข้าวพันธุ์อื่นปน และมีการ บันทึกข้อมูลวิธีตรวจประเมินตรวจบันทึกข้อมูลการเตรียมดิน และการกาจัดต้นของข้าวพันธุ์อื่นปน ตามตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลในภาคผนวก ก ข้อ 6 และ 7
  3. จำนวนต้นของข้าวพันธุ์อื่นปนที่ยอมให้มีได้ไม่เกิน 3% ซึ่งในจานวนนี้มีจานวนต้น ของข้าวพันธุ์ที่เป็นข้าวเมล็ดแดงปนไม่เกิน 1% วิธีตรวจประเมินสุ่มตรวจจานวนต้นของข้าวพันธุ์อื่นปนในแปลงนา กรณีมีข้อสงสัยหลังเก็บเกี่ยว ให้สุ่มข้าวเปลือกไปวิเคราะห์การปน

4.2 การป้องกันกาจัดศัตรูพืช และความเสียหายของผลิตผลจากศัตรูพืช

เกณฑ์ที่กาหนด

สำรวจการเข้าทาลายของศัตรูพืชที่มีผลต่อข้าว ป้องกันกาจัดศัตรูพืช และข้าววัชพืช อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีที่เหมาะสม ตามคาแนะนาของกรมการข้าว หากใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ใช้ตามข้อกาหนด ข้อ 3 และผลิตผลที่ได้ต้องไม่มีโรคพืชและการทาลายของแมลงมากกว่า 10%

วิธีตรวจประเมิน

  1. ตรวจบันทึกข้อมูลการสารวจการเข้าทาลายของศัตรูพืช และการจัดการ ตามตัวอย่าง แบบบันทึกข้อมูลในภาคผนวก ก ข้อ 8
  2. ตรวจบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ตามตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลในภาคผนวก ก ข้อ 9.2
  3. สำรวจและตรวจพินิจ ต้นของข้าววัชพืชในแปลงนา
  4. ตรวจวินิจฉัยการเกิดโรค หรือตรวจพินิจการทาลายของแมลงบนผลิตผล

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

5.1 การจัดการเพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพการสีดี ( อายุการเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์ และต้องพิจารณาความแตกต่างของการปลูกในฤดูนาปี และนาปรังด้วย )

เกณฑ์ที่กาหนด

เก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ข้าวเปลือกมีคุณภาพการสีที่ได้ข้าวเต็มเมล็ดและ ต้นข้าวตามข้อกาหนดในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติสาหรับข้าวแต่ละชนิด โดยเก็บเกี่ยวที่ระยะการเก็บเกี่ยวเมื่อ รวงข้าวมีอายุ 25 วัน ถึง 35 วัน หลังวันออกดอกหรือ รวงข้าวอยู่ในระยะพลับพลึงซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกในรวงสุขเหลืองไม่น้อยกว่าสามในสี่ส่วนของรวง

วิธีตรวจประเมิน

  1. ตรวจบันทึกข้อมูลการเก็บเกี่ยวและการนวดข้าว ตามตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูล ในภาคผนวก ก ข้อ 10
  2. ในกรณีที่จาเป็นให้ตรวจพินิจการปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวและนวดข้าว และ/หรือตรวจพินิจผลิตผล
  3. กรณีมีข้อสงสัย ให้สุ่มข้าวเปลือกไปตรวจคุณภาพการสีข้าวเปลือก

การขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมผลิตผล

การบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล