ผู้ยื่นคำร้องต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องกรณีการรับรองแบบเดี่ยว

คุณสมบัติของผู้ผลิตแบบเดี่ยว
  1. ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือ สิทธิครอบครองให้ดำเนินการ หรือได้รับการรับรองจากผู้นำท้องถิ่น
  2. เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. เป็นผู้สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กองตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานข้าวฯ กำหนด
  4. ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรองจากกองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวฯ ในแปลงที่ยื่นขอรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว
  5. ต้องไม่เป็นผู้ที่มีสถานะล้มละลาย
คุณสมบัติของนิติบุคคล
  1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย
  2. ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือ สิทธิครอบครองให้ดาเนินการ
  3. เป็นนิติบุคคลที่สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กองตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานข้าวฯ กาหนด
  4. ไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกเพิกถอนการรับรองจากกองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวฯ ในแปลงที่ยื่น ขอรับรองเว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว
  5. ต้องไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีสถานะล้มละลาย

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องกรณีการรับรองแบบกลุ่ม

  1. กลุ่มผู้ยื่นคำร้องขอการรับรอง ต้องเป็นกลุ่มที่มีการดำเนินการ ดังนี้
    • กรณีเป็นผู้ผลิตแบบกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิตที่มีสมาชิกอย่างน้อย 5 รายขึ้นไป โดยมีสมาชิกอย่างน้อย 3 รายขึ้นไปต่อประเภทข้าว เพื่อทำการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP และที่ตั้งแปลงอยู่ในพื้นที่ ใกล้เคียงกัน
    • กรณีเป็นนิติบุคคล คือ ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการกลุ่ม รับซื้อ จัดจำหน่ายข้าวเปลือก จากผู้ผลิต แบบกลุ่ม
    • ในการผลิตข้าวเปลือก ให้แยกตามประเภทข้าว ได้แก่
      • ข้าวหอมมะลิไทย (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข15) หรือ
      • ข้าวทั่วไป ได้แก่ ข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย
    โดยกลุ่มสามารถดำเนินการผลิตข้าวเปลือก และยื่นคำร้องได้มากกว่าหนึ่งประเภท
  2. สมาชิกของผู้ผลิตแบบกลุ่มต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับ มอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองให้ดำเนินการ หรือได้รับการรับรองจากผู้นำท้องถิ่น
  3. เป็นกลุ่มที่สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กองตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานข้าวฯ กำหนด
  4. ไม่เป็นกลุ่มที่ถูกเพิกถอนการรับรองจากกองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวฯ ในแปลงที่ยื่นขอรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว